Social Share

ภาวะครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงคืออะไร ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อน

ความสามารถในการตั้งครรภ์ของผู้หญิงจะเริ่มลดลงหลังอายุ 32 ปี และจะลดลงอย่างมากหลังอายุ 37 ปี เนื่องจากปริมาณและคุณภาพของไข่ที่ปฏิสนธิได้ลดลงตามอายุที่มากขึ้น โรคบางอย่างก็มีผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์และมักพบเมื่ออายุมากขึ้น เช่น เนื้องอกมดลูก, เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่, ช็อกโกแลตซิสต์ เป็นต้น

ปัจจุบันสตรีไทยมีแนวโน้มแต่งงานช้ากว่าเดิม นอกจากนั้นระหว่างการตั้งครรภ์ทั้งคุณแม่และลูกในครรภ์ก็มีความเสี่ยงบางอย่างที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด คุณแม่ที่มีอายุมากมักมีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้ว เช่น ความดันเลือดสูง, เบาหวาน เป็นต้น ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของทั้งแม่และทารก นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างมากขึ้นด้วย เช่น การแท้งบุตร, ทารกโตช้าในครรภ์, ทารกเสียชีวิตในครรภ์, การคลอดก่อนกำหนด, ครรภ์เป็นพิษ, เบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นต้น

ภาวะครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง (high risk pregnancy)

คือ การตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงทั้งคุณแม่และคุณลูก มีโอกาสที่จะ เกิดอันตรายหรือเสียชีวิตได้ทั้งในขณะตั้งครรภ์ คลอด หรือหลังคลอด ดังนั้น ถ้าหากคุณแม่อยู่ใน ภาวะครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องได้รับการดูเเลเป็นพิเศษ ซึ่ง ภาวะครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงจะพบได้ตั้งแต่ระยะหลังคลอดไปจนถึงตอนคลอด

 

ภาวะครรภ์เสี่ยงสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • กำหนดตลอดในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี
  • กำหนดตลอดในช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่า 19 หรือมากกว่า 25
  • มีกรุ๊ปเลือดหายาก เช่น หมู่เลือด Rh เป็นลบ
  • การตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์แฝด
  • มีประวัติตั้งครรภ์แล้วเลือดออก หรือ มีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์
  • มีประวัติเคยคลอดลูก แล้วลูกเสียชีวิตในครรภ์ระหว่างคลอดและหลังคลอดมาก่อน
  • คลอดก่อนกำหนด
  • มีประวัติทารกพิการในครรภ์
  • มีประวัติทารกโตช้าในครรภ์
  • มีประวัติทารกพิการทางด้านสมอง
  • ทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น ท่าก้น หรือท่าขวาง (ตั้งแต่ 34 สัปดาห์เป็นต้นไป)
  • แท้งติดต่อกันสามครั้ง
  • มีประวัติครรภ์เป็นพิษในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
  • คลอดลูกน้ำหนักต่ำกว่า 2.5 กิโลกรัม หรือมากกว่า 4 กิโลกรัม
  • มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเนื้องอกมดลูก โรคเนื้องอกรังไข่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรคหัวใจ โรคปอด โรคมะเร็ง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • เคยผ่าตัดมดลูก ผ่าหลังคลอด
  • ติดสารเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่

.

ซึ่งภาวะครรภ์เสี่ยงสูงอาจจะทำให้เกิดอันตรายจาก กับคุณแม่และลูกในครรภ์อย่างเช่น คุณแม่อาจจะมีภาวะโลหิตจาง เพลีย เหนื่อยง่าย  ความดันโลหิตสูง  เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ หรือ คลอดก่อนกำหนด ส่งผลให้ ทารกโตช้าในครรภ์ เด็กตัวเล็กพัฒนาการไม่สมบูรณ์  หรือ พันธุกรรมหรือโครโมโซมทารกผิดปกติ และมีความพิการแต่กำเนิด

.

อย่างไรก็ตามต่อให้มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงหรือไม่ คุณแม่ก็ต้องดูเเลตัวเองและลูกในครรภ์ให้ดี ติดตามการฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดูแลรักษาเหมาะสม ถูกต้อง และปลอดภัยทั้งคุณแม่และคุณลูกในครรภ์นั่นเอง

.

#MommyDaddylife #Maternityexpert #ตั้งครรภ์  #คนท้อง #คุณแม่มือใหม่

ที่มา : www.phyathai.com , www.med.cmu.ac.th

—————————————————————

สามารถติดตาม Mommydaddylife ในช่องทาง

Facebook : https://www.facebook.com/Mommydaddylifeofficial