มารู้จักการเจาะชิ้นเนื้อรก เพื่อวินิจฉัยก่อนการคลอด
การเจาะชิ้นเนื้อรก (chorionic villus sampling หรือ CVS) เป็นการทดสอบที่ดำเนินการขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เพื่อตรวจหาเพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม ความพิการแต่กำเนิดและโรคพันธุกรรมต่าง ๆ ของทารก เช่น ตรวจหาภาวะดาวน์ซินโดรม
การเจาะชิ้นเนื้อรก เป็นการดูดเก็บชิ้นเนื้อรกออกมาตรวจ เนื่องจากเซลล์เนื้อรกและทารกมีต้นกำเนิดมาจากเซลล์เดียวกัน คือ เซลล์ที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างไข่และอสุจิ จึงถือได้ว่าการตรวจเนื้อรกเทียบได้กับการตรวจสารพันธุกรรมทารก โดยใช้เข็มเจาะผ่านทางหน้าท้องมารดา (transabdominal CVS) และ การดูดเก็บหรือคีบตัดชิ้นเนื้อรกโดยใช้อุปกรณ์สอดผ่านทางปากมดลูก (transcervical CVS) โดยชิ้นเนื้อรก (placental villi) ที่ได้สามารถนำมาตรวจวินิจฉัยโรคของทารกในครรภ์ได้
ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์จึงต้องเจาะชิ้นเนื้อรก
การเจาะชิ้นเนื้อรก หรือ CVS ไม่ได้เป็นกระบวนการที่ต้องเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน โดยการเจาะตรวจชิ้นเนื้อรกมักจะแนะนำให้กับสตรีตั้งครรภ์ที่ลูกมีความเสี่ยงเกิดภาวะผิดปรกติทางพันธุกรรมสูงเท่านั้น เช่นกรณี:
- คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ทำการตรวจคัดกรองก่อนคลอดแล้วพบร่องรอยของปัญหา เช่น ดาวน์ซินโดรม เอ็ดเวิร์ดซินโดรม พาทัวซินโดรม หรือโรคโลหิตจางรูปเคียว เป็นต้น
- ตรวจสอบประวัติครอบครัวแล้วพบคนที่เคยมีภาวะทางพันธุกรรมมาก่อน เช่น โรคซิสติกไฟโปซิสหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง และตรวจพบความผิดปรกติขณะทำการอัลตราซาวด์ดูสภาพทารก
- การเข้าดำเนินการตรวจ CVS ที่เป็นความสมัครใจของคุณแม่เอง หมายความว่าหากคุณแม่ไม่ต้องการก็สามารถข้ามการดำเนินการตรวจได้เลย
- โดยก่อนการตัดสินใจ แพทย์ผดุงครรภ์หรือผู้ดูแลคุณแม่ จะชี้แจงหลักการทดสอบที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงผลประโยชน์และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มี
อายุครรภ์ที่เหมาะสมในการเจาะชิ้นเนื้อรก
สำหรับการเจาะชิ้นเนื้อรกเพื่อตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดนั้น ส่วนใหญ่แล้วมักทำตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 10 สัปดาห์ขึ้นไปค่ะ ซึ่งการทำหัตถการ transabdominal CVS สามารถทำได้ตลอดระยะการตั้งครรภ์เลยค่ะ แถมยังเป็นทางเลือกที่ดีในการเก็บตัวอย่างเซลล์ทารกในครรภ์อีกด้วย หากหัตถการอื่นทำได้ยาก เช่น ภาวะน้ำคร่ำน้อยจะทำให้ไม่สามารถเจาะน้ำคร่ำ หรือเจาะเลือดสายสะดือทารกในครรภ์ได้ค่ะ เพราะมีความเสี่ยง แต่การทำหัตถการในอายุครรภ์ที่เหมาะสมแนะนำให้อยู่ระหว่าง 10 – 14 สัปดาห์ค่ะ
วิธีเตรียมตัวก่อนการเจาะชิ้นเนื้อรก
1. ตรวจสอบข้อบ่งชี้ในการทำหัตถการ
คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจจะมีข้อบ่งชี้มากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น คุณแม่ท้องมีอายุมาก ทำให้เสี่ยงต่อภาวะโครโมโซมผิดปกติของทารกในครรภ์ แถมยังเป็นคู่ที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ทำให้ทารกเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงได้
2. เลือกช่องทางการทำหัตถการ
การเจาะชิ้นเนื้อรก สามารถทำได้สองช่องทาง คือ การดูดเก็บชิ้นเนื้อรกโดยจะใช้เข็มเจาะผ่านทางหน้าท้องแม่ตั้งครรภ์ หรือการดูดเก็บ หรือคีบตัดชิ้นเนื้อรกไว้ โดยจะมีการใช้อุปกรณ์สอดผ่านทางปากมดลูกค่ะ ถึงแม้ว่าการเจาะชิ้นเนื้อรกส่วนใหญ่จะสามารถทำหัตถการผ่านช่องทางใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และผู้ทำหัตถการ อย่างไรก็ตามร้อยละ 3 – 5 ของการเจาะชิ้นเนื้อรก จำเป็นต้องทำผ่านทางช่องทางใดช่องทางหนึ่งเท่านั้นนะคะเพื่อความปลอดภัย
.
สามารถติดตามข้อมูล #MommyDaddyLife เพิ่มเติมได้ที่
Facebook : mommydaddylifeofficial
TikTok : mommydaddylifeofficial
Youtube : mommydaddylife-MDL
Website : www.mommydaddylife.com