Social Share

สถิติอายุของแม่มีความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรม

การตั้งครรภ์เมื่ออายุมากก็จะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงที่ลูกในครรภ์จะมีกลุ่มอาการดาวน์ หรือ Down syndrome คุณแม่หลายคนอาจคิดว่า “ดาวน์ซินโดรม” เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุเยอะเท่านั้น จึงทำให้เกิดการละเลยที่จะตระหนักถึงความเสี่ยงค่ะ

หากเราย้อนไปดูที่ข้อมูลเราจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าคุณแม่จะอายุเท่าไหร่ ก็มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ทารกที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมได้เช่นเดียวกัน แต่ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงที่อายุเยอะนั่นเองค่ะ

.

แสดงความเสี่ยงในการคลอดทารกดาวน์ซินโดรมของอายุมารดาที่เพิ่มขึ้น

รูปจาก www.genode.co

 

อย่างไรก็ตามคุณแม่ตั้งครรภ์มีที่อายุน้อยกว่า 35 ปี แม้จะมีความเสี่ยงน้อย ทารกในครรภ์ก็สามารถเกิดดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน นอกจากปัจจัยทางพันธุกรรมก็ยังไม่พบหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น สภาพแวดล้อม การปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์ หรืออื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงในการคลอดทารกดาวน์ซินโดรม

.

หากต้องการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม ปัจจุบันมีการตรวจที่เรียกว่า NIPT (Non-invasive prenatal testing) ซึ่งมีความแม่นยำสูงถึง 99.9% เมื่อเทียบกับการเจาะน้ำคร่ำ แต่ว่าไม่มีความเสี่ยงใด ๆ จากการเจาะน้ำคร่ำ ไม่เสี่ยงในการทำให้บุตรในครรภ์แท้ง

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับปรแกรมตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมและโครโมโซมของทารกในครรภ์ ได้ที่นี่

*แหล่งข้อมูลอ้างอิง : – Gil et al (2015) DOI: 10.1002 / uog.14791
– Clinical management guidelines for obstetrician-gynecologists, Screening for Fetal Aneuploidy, Practice bulletin, Number 163. May 2016

—————————————————————

สามารถติดตาม Mommydaddylife ในช่องทาง Facebook 

 https://www.facebook.com/Mommydaddylifeofficial