Social Share

ทำไงดี..เมื่อลูกไม่ยอมเข้าเต้า

สารพันปัญหาร้อยแปดของคุณแม่เริ่มตั้งแต่หลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัวทั้งเจ็บแผล เจ็บช่องคลอด ร่างกายอ่อนเพลีย และปัญหาที่แสนกังวลเกี่ยวกับลูกน้อย ปัญหาการให้นมลูกอย่างการที่ ลูกไม่ยอมเข้าเต้า ล้วนเป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำนมนั้นมีสารอาหารที่สำคัญต่อลูกน้อย เพราะฉะนั้นปัญหานี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของคุณแม่ทุกบ้าน MommyDaddyLife จึงมีวิธีแก้มาแบ่งปันค่ะ

ลูกไม่ยอมเข้าเต้าอาจมาจากสาเหตุเหล่านี้

  • ลูกน้อยอาจกำลังเจ็บเหงือก เพราะฟันกำลังขึ้น ซึ่งเป็นในช่วงอายุ 6 เดือน หรืออาจจะมีเชื้อราในช่องปาก คุณแม่สามารถสังเกตได้จากการมีคราบสีขาวเป็นฝ้าในช่องปากหรือบริเวณลิ้น ทำให้ลูกน้อยมีอาการหงุดหงิด ไม่อยากกินนม
  • เป็นหวัด คัดจมูก ทำให้หายใจไม่สะดวกขณะดูดนม หรือมีอาการเจ็บคอขณะดูดนม
  • ท่าให้นมไม่ถูกวิธี หรือไม่ลงตัวสำหรับแม่และลูก ทำให้ลูกไม่สบายตัว ไม่ถนัด หรือรู้สึกว่าดูดนมได้ไม่เต็มที่
  • ลูกน้อยอาจมีอาการหูอักเสบติดเชื้อ เกิดความเจ็บปวดขณะดูดนม ทำให้ลูกไม่ยอมดูดเต้า
  • ลูกถูกดึงดูดความสนใจจากสิ่งรอบตัว เช่นเสียงรบกวนต่างๆ ทำให้ไม่สนใจในการกินนมแม่เท่าเดิม
  • คุณแม่มีปริมาณน้ำนมลดลง อาจมาจากให้ลูกดูดจากขวดนมเพิ่มขึ้น หรือดูดจุกหลอกมากเกินไป ลูกได้กินนมแม่น้อยลง ส่งผลให้ต่อมน้ำนมผลิตนมลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้อาการติดจุกหลอกอาจสร้างปัญหาในช่องปากและฟัน และเสี่ยงต่อการติดเชื้อในหูอีกด้วย
  • เป็นการตอบสนองต่อความเครียดของลูกน้อย จากการถูกกระตุ้นให้ดูดนมมากเกินไป หรือถูกเลื่อนเวลาการให้นมบ่อย ๆ
  • ลูกรู้สึกไม่ดีจากปฏิกิริยาไม่พอใจของคุณแม่เมื่อถูกลูกกัดเวลาให้นม จึงปฏิเสธในการดูดนมแม่ครั้งต่อ ๆ ไป
  • รสชาติของน้ำนมแม่เปลี่ยนไป อาจจะมาจากอาหารที่คุณแม่ทาน อย่างอาหารเผ็ดหรืออาหารรสจัด
  • ลูกเกิดความสับสนเมื่อต้องพรากจากแม่เป็นเวลานาน หรือมีการเปลี่ยนแปลงในกิจวัตรประจำวันระหว่างคุณแม่และลูกน้อย เช่น คุณแม่ต้องไปทำงานนอกบ้าน หรือหากเดินทางไกลแล้วลูกไม่ได้กินน้ำนมแม่เป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดอาการสับสนได้เช่นกัน
  • อาจมีการอุดตันของท่อน้ำนมทำให้ลูกน้อยดูดไม่ออก

 

วิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกไม่ยอมเข้าเต้า

  • พยายามให้ลูกดูดนมตรงเวลาเพื่อไม่ให้ลูกเกิดความสบสน และเพื่อเลี่ยงอาการเต้านมคัด ป้องกันท่อน้ำนมอุดตันจนลูกไม่ยอมกินนมแม่
  • ปรับเปลี่ยนท่าให้นมลูกให้เหมาะสมทั้งกับคุณแม่และลูกน้อย เช่น เอนหลังพอประมาณเพื่อให้ลูกได้ตัวแนบกับ- คุณแม่ มีหมอนรองหลังและรองตัวลูกน้อยให้อยู่ในระดับเดียวกับเต้านม ให้ลูกสามารถงับได้ถึงลานนม และดูดได้ถนัด
  • ลองให้นมตอนที่ลูกง่วงนอนมากๆ เพราะเด็กบางคนอาจชอบดูดนมแม่ตอนที่กำลังง่วง
  • ให้นมในที่เงียบสงบ ไม่มีสิ่งเร้า มีเพียงคุณแม่และลูกน้อยตามลำพัง เพื่อไม่ให้ลูกเบี่ยงเบนความสนใจไปหาสิ่งรอบตัวและสนใจกับการดูดนมแม่มากขึ้น
  • งดขวด จุกนมยาง จุกนมหลอก เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ว่าหากหิว ทางเดียวที่จะได้นมก็คือต้องดูดจากเต้าคุณแม่
  • สังเกตลูกน้อยว่าหลังจากคุณแม่ทานอาหารบางอย่าง ลูกมีอาการไม่อยากเข้าเต้าหรือเปล่า หากเป็นตามนั้นคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารนั้น อาหารเผ็ด อาหารรสจัดและอาหารมีแก๊สเยอะ
  • สังเกตปริมาณน้ำนมขณะที่ลูกน้อยดูดเต้า เนื่องจากบางครั้งน้ำนมไหลแรงเกินไป ส่งผลให้ลูกน้อยสำลัก และไม่ยอมเข้าเต้าในครั้งถัดไปได้ คุณแม่ที่น้ำนมเยอะลองนวดบีบหรือปั๊มเอาน้ำนมออกไปส่วนหนึ่งก่อน เพื่อให้น้ำนมไม่มากเกินไป ช่วยป้องกันการสำลัก
  • สังเกตจำนวนครั้งของการปัสสาวะของลูกว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอแล้วหรือไม่ (5-6 ครั้งต่อวัน)
  • พยายามเสนอเต้าให้ลูกดูด แต่หากไม่ยอมดูดต้องหยุดและลองใหม่ในภายหลัง ไม่ควรหงุดหงิด หรือกังวลใจ ค่อย ๆ ปลอบโยนให้ลูกยอมในที่สุด
  • ให้ความสนใจกับลูกด้วยการสัมผัสลูกแบบแนบชิด อุ้มหรือกอดปลอบโยนลูกบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกผ่อนคลายและชินกับไออุ่นแม่
  • แก้ปัญหาลูกเจ็บเหงือกหรือคันฟันจากฟันขึ้น เช่น ของเล่นยางกัด เจลทาเหงือก ให้ลูกเคี้ยวของเย็น หรือปรึกษาคุณหมอเพื่อใช้ยา แล้วจึงค่อยให้ลูกดูดนมแม่
  • หาสาเหตุจากอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ และรับการรักษาจากแพทย์เมื่อลูกหายดีก็จะกลับมาเข้าเต้าได้ตามปกติ

.

การไม่ยอมเข้าเต้าของลูกน้อยมีวิธีแก้หลากหลายตามสาเหตุต่าง ๆ ต้องอาศัยความรักความใส่ใจของคุณแม่เพื่อสังเกตและแก้ให้ถูกจุด ที่สำคัญคือตัวคุณแม่ไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป ค่อย ๆ แก้ปัญหาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างใจเย็น เพราะลูกน้อยอาจรับรู้ถึงความรู้สึกนั้นไปด้วยได้นะคะ

.

#Mommydaddylife #Mommydaddylifeofficial #Genode #GenodeThainipt #ตั้งครรภ์ #คนท้อง #คุณแม่มือใหม่

————————

สามารถติดตาม #Mommydaddylife ในช่องทางอื่นๆ

Facebook : mommydaddylifeofficial

TikTok : mommydaddylifeofficial

Youtube : mommydaddylife-MDL

Website : www.mommydaddylife.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Fill out this field
Fill out this field
Please enter a valid email address.
You need to agree with the terms to proceed