เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถแบ่งออกเป็นได้ทั้ง ได้รับการวินิจฉัยก่อนการตั้งครรภ์ หรือ เบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเบาหวานขณะตั้งครรภ์คืออโรคเบาหวานชนิดหนึ่ง ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มักถูกวินิจฉัยในช่วงสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์ เกิดจาก เมื่อตั้งครรภ์ รกจะสร้างฮอร์โมนบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่คอยคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ถ้าภาวะนี้ไม่ได้รับการควบคุม จะทำให้เกิดอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์และส่งผลกระทบต่อทั้งตัวแม่และทารกในครรภ์ได้
ผลเสียต่อแม่
- เพิ่มความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
- เพิ่มโอกาสเป็นเบาหวานเรื้อรังในอนาคต
- เกิดภาวะเสื่อมของระบบหลอดเลือด ตา ไต และปลายประสาท
- เกิดความดันโลหิตสูงติดเชื้อง่ายโดยเฉพาะระบบทางเดินปัสสาวะ
ผลเสียต่อลูก
- เพิ่มโอกาสภาวะโรคอ้วน
- เพิ่มโอกาสการเกิดทารกตัวโต หรือพิการได้
- เพิ่มโอกาสภาวะทารกเสียชีวิตในครรภ์
กลุ่มเสี่ยง
- หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักเกิน
- หญิงตั้งครรภ์ อายุ 35 ขึ้นไป
- มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
- เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
- เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อนในครรภ์ก่อนหน้า
- มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ
ข้อควรปฎิบัติ
- ควรควบคุมระดับน้ำตาล
- คุมอาหาร คุมการบริโภคน้ำตาล ของหวานอย่างเข้มงวด
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้น คุณแม่ที่กำลังจะตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์ควรจะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดทั้งก่อนและตลอดการตั้งครรภ์ โดยการควบคุมอาหาร ลดแป้งหรือน้ำตาลและ พักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญตรวจสุขภาพและปรึกษาคุณหมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์กันนะคะ